หลายท่านอาจจะสงสัยว่าไฟเกษตรคืออะไร ต่างจากไฟฟ้าในบ้านเรือนทั่วไปหรือไม่ ซึ่งความหมายจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้ให้ความหมายว่า ไฟเกษตรคือ การนำไฟฟ้ามาใช้ภายในสวนของเกษตรกรเพื่อทำการเกษตร เช่น ใช้กับเครื่องสูบน้ำ หลอดไฟต่าง ๆ เป็นต้น โดยมีหลักเกณฑ์การเข้าร่วมโครงการ 9 ข้อดังนี้ ได้รับการรับรองจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือหน่วยงานราชการ เพื่อยืนยันตัวตนว่าไม่ได้อยู่ในพื้นที่หวงห้ามใดๆ ของทางราชการ ต้องมีเส้นทางสาธารณะที่รถยนต์สามารถวิ่งผ่านได้อย่างสะดวก สามารถดำเนินการก่อสร้างระบบจำหน่ายโดยวิธีปักเสาพาดสายไฟเข้าไปถึงจุดที่ขอใช้ไฟฟ้าได้ ได้รับการรับรองจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือหน่วยงานราชการ เพื่อยืนยันขนาดพื้นที่และชนิดของกิจกรรมการผลิตทางการเกษตรที่ต้องการใช้ไฟฟ้า…
เทคโนโลยี
ความนิยม ผักไฮโดรโปนิกส์ นับวันจะขยายตัวมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะกลุ่มคนรักสุขภาพ ต้องการบริโภคผักสด สะอาด ปลอดสารพิษ อีกทั้งการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ไม่ต้องใช้ดิน จึงเป็นทางออกของคนเมืองที่มีพื้นที่จำกัด สามารถปลูกผักสลัดหรือผักสวนครัวทานเองได้แม้จะอาศัยบนคอนโดสูง ถือเป็นงานอดิเรกที่สร้างความสุขในชีวิตประจำวันได้อย่างดี หรือหากคิดจะปลูกจริงจังเพื่อนำผักไปขายเป็นรายได้เสริม ก็ไม่ใช่เรื่องยากเย็นอะไรเลย อย่างไรก็ตาม ปัญหาของผู้ที่ไม่ใช่เกษตรกรมืออาชีพ คือมีงานหลักที่ต้องทำประจำอยู่แล้ว จึงไม่มีเวลามาดูแลเอาใจใส่การปลูกผักในทุกขั้นตอน ทำให้บางคนคิดค้นเทคโนโลยีใหม่ ๆ…
ปุ๋ยหมักมีกระบวนการผลิตหลายรูปแบบ แต่ระบบการเติมอากาศโดยใช้พัดลมเป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่น่าสนใจ ต้นทุนต่ำ สามารถผลิตปุ๋ยหมัก 1.5 ตันได้ทุกเดือน โดยไม่ต้องเสียแรงในการกลับกองปุ๋ยหมัก เป็นโรงหมักปุ่ยเติมอากาศที่ถูกพัฒนาขึ้นโดย นายภัชญภณ หมื่นแจ้ง ผอ.กลุ่มวิจัยปฐพีวิทยา กรมวิชาการเกษตร ร่วมกับ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรมหาสารคาม สร้างขึ้นมาในรูปแบบง่ายๆที่เกษตรกรสามารถทำได้เอง เป็นโรงเรือนขนาดกว้าง 1.1 ม. ยาว 1.4 ม. และสูง 1.0 ม. โครงสร้าง เสา และคานทำด้วยไม้ยูคาฯ…
วันที่ 8 ธันวาคม 2560 ที่แปลงปลูกมันสำปะหลัง ต.หนองบัวศาลา อ.เมือง จ.นครราชสีมา นางสาวชุติมา บุญยประภัศร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานเปิดโครงการเรียนรู้เกษตรอัจฉริยะ ภายในงานได้มีการจัดแสดงเทคโนโลยีอัจฉริยะเพื่อนำไปใช้ในการเกษตรมากมาย อาทิ เทคโนโยลีการใช้โดรนบินถ่ายภาพพื้นที่ เพื่อจัดทำแผนที่แปลงเกษตร และกำหนดพิกัดด้วย GPS เพื่อนำไปใช้ในการวางแผนการจัดการน้ำ ปุ๋ย…
จากการศึกษาข้อมูลและวิจัยกรรมวิธีการเพาะเห็ดให้ได้ผลผลิตที่ดีแก่ผู้เพาะปลูก โดย อาจารย์พิทักษ์ สถิตวรรธนะ อาจารย์ประจำสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ศรีวิชัย ได้เริ่มต้นการวิจัยจากการเพาะเห็ดในโอ่ง ตามวิถีของชาวบ้านจากแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง แต่การเพาะเห็ดนั้น จะต้องดูแลรดน้ำให้เห็ด 3-4 ครั้ง ต่อวัน และการเพาะเห็ดในโอ่งนั้น สามารถเพาะได้เพียง 20-40 ก้อน…