นับวัน “แรงงาน” ในภาคการเกษตรยิ่งหายากขึ้นทุกที ทั้งยังมีราคาค่าจ้างที่แพงตามค่าแรงขั้นต่ำ วันหนึ่งไม่น้อยกว่า 300 บาท ทำให้ต้นทุนการผลิตของเกษตรกรสูงขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ขณะที่การใช้แรงงานคนก็ยังมีข้อจำกัดหลายประการ โดยเฉพาะประสิทธิภาพการทำงาน ต่อคนสามารถดูแลพื้นที่การเกษตร ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนของการเพาะปลูก การดูแล หรือการเก็บเกี่ยวได้ไม่มากนัก ซึ่งยังไม่นับรวมถึงความรู้ความชำนาญด้านการเกษตรของตัวแรงงานเอง ที่ส่วนใหญ่มีเชี่ยวชาญค่อนข้างน้อย จำเป็นต้องมีการฝึกฝน ซึ่งกว่าจะเข้าที่เข้าทางและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพต้องใช้เวลาพอสมควรเลยทีเดียว “กาศยานไร้คนขับ” นวัตกรรมใหม่ด้านการเกษตร…
เทคโนโลยีการเกษตร
ความนิยม ผักไฮโดรโปนิกส์ นับวันจะขยายตัวมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะกลุ่มคนรักสุขภาพ ต้องการบริโภคผักสด สะอาด ปลอดสารพิษ อีกทั้งการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ไม่ต้องใช้ดิน จึงเป็นทางออกของคนเมืองที่มีพื้นที่จำกัด สามารถปลูกผักสลัดหรือผักสวนครัวทานเองได้แม้จะอาศัยบนคอนโดสูง ถือเป็นงานอดิเรกที่สร้างความสุขในชีวิตประจำวันได้อย่างดี หรือหากคิดจะปลูกจริงจังเพื่อนำผักไปขายเป็นรายได้เสริม ก็ไม่ใช่เรื่องยากเย็นอะไรเลย อย่างไรก็ตาม ปัญหาของผู้ที่ไม่ใช่เกษตรกรมืออาชีพ คือมีงานหลักที่ต้องทำประจำอยู่แล้ว จึงไม่มีเวลามาดูแลเอาใจใส่การปลูกผักในทุกขั้นตอน ทำให้บางคนคิดค้นเทคโนโลยีใหม่ ๆ…
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี ออกแบบรถตัดหญ้าควบคุมด้วยรีโมทคอนโทรล โดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ ชี้ปลอดภัยสูง มีที่ครอบใบตัด เศษหญ้าออกมาทางด้านหลัง ง่ายต่อการใช้งาน ลดการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง และน้ำหนักเบา เคลื่อนย้ายสะดวก ตัวแทนนักศึกษา ชั้นปีที่ 3 วิศวกรรมเครื่องจักรกลเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี…
ช่วงนี้ เริ่มเข้าสู่ฤดูของ “ทุเรียน” ผลไม้ประจำชาติ เกินกว่าค่อนประเทศมั่นใจได้เลยว่า ชอบกินทุเรียนอย่างแน่นอน แต่ปัญหาเมื่อซื้อทุเรียนมาบริโภคและพบได้บ่อย หากซื้อมาเป็นผลแกะกินเอง ก็น่าจะเป็นเรื่องของความสุกของเนื้อทุเรียนที่นอกจากแต่ละพูอ่อนแก่ไม่เท่ากันแล้ว ยังประเมินไม่ได้ว่า ทุเรียนผลนั้นเนื้อจะมีความสุกในระดับที่ผู้บริโภคชอบหรือไม่ เหตุผลนี้ เป็นเหตุผลหลักที่ อาจารย์จิตวัฒนา บุญเลิศ หัวหน้าแผนกวิชาช่างกลโรงงาน วิทยาลัยการอาชีพบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และครูที่ปรึกษาโครงงานอุปกรณ์วัดความสุกของทุเรียน นำมาเป็นตัวตั้งต้นของแนวคิด…
ภาพในอดีตที่เกษตรกรทำการเกษตรด้วยความยากลำบาก ใช้แรงงาน มีรายได้น้อย ทำให้อาชีพเกษตรกรรมอยู่ในกลุ่มผู้สูงอายุ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเจ้าของที่ดิน ทว่าย้อนหลังไป 4-5 ปี เกษตรกรได้พัฒนาตัวเอง รวมทั้งมีเกษตรกรรุ่นใหม่ ๆ เกิดขึ้น ได้ปรับเปลี่ยนอาชีพหันมาทำเกษตรกรรรม นำนวัตกรรม เทคโนโลยี มาบริหารจัดการต้นทุน พัฒนาผลผลิต การแปรรูปผลิตภัณฑ์ และด้านการตลาด ทำให้ภาพของเกษตรกรยุคใหม่เปลี่ยนไป…
ดร. รุ่งเรือง พัฒนากุล นักวิทยาศาสตร์ระบบลำเลียงแสง สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน เปิดเผยว่า “ถั่งเช่า” เป็นสมุนไพรที่มีการใช้อย่างแพร่หลายในประเทศจีนนานนับศตวรรษ มีแหล่งกำเนิดมาจากประเทศทิเบต สรรพคุณใช้เป็นยาบำรุงร่างกาย บำรุงอวัยวะภายใน เช่น ปอด ตับ และไต นอกจากนี้ ยังช่วยชะลอความแก่ชรา ลดคอเลสเตอรอล บรรเทาและรักษาอาการโรคหอบหืด เป็นต้น…
ปุ๋ยหมักมีกระบวนการผลิตหลายรูปแบบ แต่ระบบการเติมอากาศโดยใช้พัดลมเป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่น่าสนใจ ต้นทุนต่ำ สามารถผลิตปุ๋ยหมัก 1.5 ตันได้ทุกเดือน โดยไม่ต้องเสียแรงในการกลับกองปุ๋ยหมัก เป็นโรงหมักปุ่ยเติมอากาศที่ถูกพัฒนาขึ้นโดย นายภัชญภณ หมื่นแจ้ง ผอ.กลุ่มวิจัยปฐพีวิทยา กรมวิชาการเกษตร ร่วมกับ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรมหาสารคาม สร้างขึ้นมาในรูปแบบง่ายๆที่เกษตรกรสามารถทำได้เอง เป็นโรงเรือนขนาดกว้าง 1.1 ม. ยาว 1.4 ม. และสูง 1.0 ม. โครงสร้าง เสา และคานทำด้วยไม้ยูคาฯ…
วันที่ 8 ธันวาคม 2560 ที่แปลงปลูกมันสำปะหลัง ต.หนองบัวศาลา อ.เมือง จ.นครราชสีมา นางสาวชุติมา บุญยประภัศร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานเปิดโครงการเรียนรู้เกษตรอัจฉริยะ ภายในงานได้มีการจัดแสดงเทคโนโลยีอัจฉริยะเพื่อนำไปใช้ในการเกษตรมากมาย อาทิ เทคโนโยลีการใช้โดรนบินถ่ายภาพพื้นที่ เพื่อจัดทำแผนที่แปลงเกษตร และกำหนดพิกัดด้วย GPS เพื่อนำไปใช้ในการวางแผนการจัดการน้ำ ปุ๋ย…
ศูนย์วิจัยกสิกรฯชวนเกษตรกรไทยรายเล็กรวมกลุ่มทำนาแปลงใหญ่ ใช้โดรนเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต โชว์ตัวเลขปี 60 ลดต้นทุน 1,100 ล้านบาท รายงานข่าวจากศูนย์วิจัยกสิกรไทยแจ้งว่า โดรนเพื่อการเกษตรเป็นทางเลือกที่น่าสนใจในฐานะเครื่องมือทางการเกษตรมีความแม่นยำสูง ซึ่งกำลังมาแรงในยุคเกษตร 4.0 ที่เน้นเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร ลดต้นทุนการผลิตประหยัดเวลา และประหยัดการใช้แรงงานคนท่ามกลางภาวะที่แรงงานภาคเกษตรมีแนวโน้มปรับตัวลดลง และควบคุมคุณภาพการผลิตของสินค้าเกษตรได้อย่างแม่นยำ ทั้งนี้ หากไทยนำเทคโนโลยีโดรนเข้ามาประยุกต์ใช้ตามนโยบายนาแปลงใหญ่ของภาครัฐในปี 60 จะทำให้เกษตรกรสามารถลดต้นทุนการผลิตได้รวม…