ดินเป็นทรัพยากรธรรมชาติเกิดขึ้นจากการผุพังของหินและแร่ มีอินทรียวัตถุผสมคลุกเคล้าเป็นเนื้อเดียวกันเป็นแหล่งที่มาของปัจจัยสี่เพื่อการดำรงชีพของมนุษย์เพราะเราได้อาศัยปลูกพืชที่เป็นอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค พืชและต้นไม้เจริญเติบโตได้เนื่องจากในดินมีธาตุอาหารมีน้ำและอากาศให้รากพืชได้หายใจ รากพืชจะดูดน้ำและธาตุอาหารไปหล่อเลี้ยงลำต้น รากพืชต้องมีอากาศหายใจ ดังนั้นการไถพรวนดินในการปลูกพืชก็เพื่อช่วยปรับปรุงดินให้โปร่งมีอากาศถ่ายเทได้สะดวก ดินในบริเวณที่เปิดป่าใหม่ ๆ เป็นดินที่อุดมสมบูรณ์เนื่องจากดินชั้นบนสะสมอินทรียวัตถุและธาตุอาหารพืชอยู่เป็นจำนวนมาก ธาตุอาหารพืชถูกปลดปล่อยออกมาเนื่องจากการสลายตัวของอินทรียวัตถุและการผุพังของหินและแร่ในดินพืชที่ปลูกจึงงอกงามและให้ผลผลิตสูง การปลูกพืชและเก็บเกี่ยวผลิตผลจากไร่นาแต่ละครั้งเป็นการเก็บเกี่ยวธาตุอาหารหรือปุ๋ยในดินออกไปด้วยเช่นกัน การปลูกพืชติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ จึงทำให้ดินสูญเสียธาตุอาหารพืชรวมทั้งอินทรียวัตถุในดิน ในที่สุดจะทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์ลดลงกลายเป็นดินเลวปลูกพืชไม่ได้ผลดีอีกต่อไป ดังนั้นในการปลูกพืชจึงควรใช้ปุ๋ยปรับปรุงดินเนื่องจากปุ๋ยที่ใส่ลงไปในดินจะปล่อยธาตุอาหารพืชชดเชยธาตุอาหารพืชเดิมที่สูญเสียไปและยังสามารถเพิ่มเติมธาตุอาหารให้พืชเมื่อปลูกในดินที่มีธาตุอาหารไม่พอเพียง ธาตุอาหารในดิน…
ดิน
ฟื้นฟูสุขภาพดิน เป็นที่รู้กันว่าดินที่มีสภาพร่วนซุยเป็นดินที่เหมาะสำหรับปลูกพืชมากที่สุดเพราะช่วยให้รากชอนไชหาน้ำและอาหารได้สะดวก ดินที่ดีนั้นควรมีความพรุนและมีช่องว่างให้น้ำและอากาศแทรกตัวอย่างพอเหมาะ มีความเป็นกรดเป็นด่างที่พอดี แต่หากดินในสวนที่เราต้องการปลูกพืชไม่ได้มีสภาพดังกล่าว เช่น เกิดปัญหาดินแข็ง ดินขาดธาตุอาหาร ดินเหนียว ดินลูกรัง ดินกรด ก็จำเป็นต้องปรับปรุงฟื้นฟูดินให้เหมาะสำหรับปลูกต้นไม้ต่อไป ซึ่งเทคนิคง่าย ๆ ในการปรับปรุงดินทำได้ ดังนี้ ปรับปรุงดิน ราคาประหยัด วัสดุจากธรรมชาติ เช่น…
วันนี้เราได้รวบรวม สูตรดินปลูก 10 สูตรมาฝาก เพื่อให้ดินคืนความอุดมสมบูรณ์ สามารถทำได้โดยไม่ต้องใช้ปุ๋ยเคมี โดยใช้ปุ๋ยธรรมชาติที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนการผลิตได้มาก แน่นอนการใช้ปุ๋ยที่หาได้ตามธรรมชาติย่อมทำให้เรามีโอกาสในการค้าที่สูงขึ้นด้วยเช่นกัน เนื่องจาก เป็นกระแสการปลูกพืชแบบลดการใช้สารเคมี วันนี้เราจะพาไปพบกับ 10 สูตรที่นำมาฝากกันเลย เทคนิคการผสมดินอย่างง่าย ๆ เพื่อให้ดินคืนความอุดมสมบูรณ์ สามารถทำได้โดยไม่ต้องใช้ปุ๋ยเคมี แต่ใช้ปุ๋ยธรรมชาติที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนการผลิตได้มาก สูตรการบำรุงดินโดยใช้ปุ๋ยธรรมชาติ…
กำเนิดดิน ดินเกิดมาจากการสลายตัวผุพังของหินและแร่ (อนินทรีย์สาร inorganic material) รวมกับซากพืชและสัตว์ที่ตายเน่าเปื่อย (อินทรีย์สาร : organic material) คลุกเคล้าเข้าด้วยกันโดยมีกระบวนการ ทางธรรมชาติคอยควบคุมการเกิดดินให้ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องติดต่อกันโดยตลอด การสลายตัวผุพังของวัตถุต้นกำเนิดดินที่เป็นอนินทรีย์สารเกิดจากกระบวนการทางด้านกายภาพ (physical process) เช่น การเกิดแรงดึงและแรงดันของพื้นผิวโลก ทำให้หินแร่แตกหัก หรือการกัดเซาะของน้ำและลม ทำให้หินแร่ผุกร่อนแตกหักได้…
พื้นที่ดินเค็ม หรือ saline soil ถือเป็นพื้นที่ที่มีปัญหาในการทำเกษตรเป็นอย่างมาก เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวนี้ จะมีปริมาณเกลือที่ละลายอยู่ในดินมากเกินความจำเป็น จนมีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของพืชหลายชนิด ดินเค็มจะทำให้พืชมีสภาพขาดน้ำ และมีการสะสมไอออนที่เป็นพิษมากเกินไปทำให้เกิดการแกรน พืชไม่โตเนื่องจากสกัดน้ำเค็มได้ยากหากไม่ใช่พืชทนเค็มจริง ๆ นอกจากนี้ยังทำให้เกิดความไม่สมดุลของธาตุอาหารที่พืชจะได้รับอีกด้วย ปัญหานี้สามารถแก้ได้ด้วย การปลูกพืชในดินเค็ม โดยเลือกลักษณะพืชที่จะปลูกให้ถูกตามสภาพดิน เนื่องจากพื้นดินส่วนใหญ่มีปริมาณเกลือในดินสูงทั่วถึงกันเป็นแนวกว้าง การแก้ปัญหาดินเค็มส่วนใหญ่หากไม่ทำอย่างต่อเนื่อง ก็จะแก้ปัญหาไม่ได้ผลเท่าที่ควร กรรมวิธีแก้ปัญหาเฉพาะหน้าอย่างกรรมวิธี…
ทุกวันนี้เมืองไทยกำลังเผชิญปัญหาดินเสื่อมโทรม จากปัญหาดินเค็ม เนื่องจาก ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ทั้งนี้ สามารถแบ่งประเภทดินเค็มได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ตามลักษณะของพื้นที่ที่พบ คือ 1. ดินเค็มชายทะเล 2. ดินเค็มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดินเค็มชายทะเล เกิดจากตะกอนที่แม่น้ำพัดพามาตกทับถมในทะเลบริเวณปากแม่น้ำ ลำคลองแถบชายฝั่งทะเล เมื่อมาตกทับถมกันนานเข้าก็จะกินบริเวณกว้างขวางจนเกิดเป็นหาดเลน และเมื่อมีตะกอนดินทับถมมากขึ้นก็จะค่อย…
พื้นที่การเกษตรในประเทศไทยนั้นแตกต่างกันไปตามภูมิภาพและท้องถิ่น การที่จะได้ผลผลิตที่ดีนั้นจำเป็นต้องคัดเลือกพื้นที่เพาะปลูกด้วยไม่ใช่ว่าอยากปลูกอะไรก็ปลูกได้ เพราะคุณภาพของผลผลิตจะเป็นตัววัดว่าดินและสภาพแวดล้อมที่ทำการปลูกนั้นดีและเหมาะสมหรือไม่เพียงใด เป็นต้นว่าคิดจะปลูกยางพาราต้องมีสภาพดินที่เป็นดินร่วน ดินร่วนเหนียว หรือดินร่วนปนทรายนิดๆ และสภาวะแวดล้อมต้องมีน้ำไม่ขาด การปลูกในสภาวะที่ไม่เหมาะอาจได้ผลผลิตแต่ไม่มีคุณภาพ ต้องมีการปรับเปลี่ยนพันธุ์พืชเพื่อให้เหมาะและเข้ากับดินในภูมิประเทศนั้นๆ ดินร่วนปนทราย หรือดินทรายที่เฉลี่ยแล้วมีมากกว่าดินปกตินั้น เหมาะกับการปลูกพืชชนิดใด คำถามนี้เหมือนเป็นปัญหาที่เกษตรกรผู้มีที่ดินและอยากเพิ่มมูลค่าพื้นที่ดินของตนเอง มีหลายส่วนแนะนำให้ปลูกสน ยางนา หรือไม้ยืนต้นชนิดต่างๆ ทั้งสัก ยูคาลิปตัส ฯลฯ ซึ่งนั่นหมายถึงว่าเป็นพื้นที่ๆ…